วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555

หาปลูกไว้ "ต้นพญาสามสิบสองเมีย" สมุนไพรบำรุงสมอง ในงานมติชน เฮลท์แคร์ 2012

วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555 เวลา 21:47:26 น.

เนียมหูเสือ



เท้ายายม่อม



โม่ยตั๋น



สันพร้าหอม



พญาสามสิบสองเมีย




บทความพิเศษ

กลับมาอีกครั้งเป็นปีที่ 4 สำหรับงานแฟร์สุขภาพอันดับ 1 ของประเทศ “มติชน เฮลท์แคร์ 2012” ซึ่งปีนี้จะจัดขึ้นระหว่าง วันที่ 21-24 มิถุนายน 2555 เวลา 10.00-20.00 น. ณ ห้องเพลนารีฮอลล์, มีทติ้งรูม 1 และ 2 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยนิตยสาร Hospital & Healthcare และสื่อในเครือมติชน จับมือองค์กรหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และผู้ประกอบธุรกิจด้านสุขภาพ จัดงานครั้งนี้ขึ้นภายใต้ธีม “สมองดี ชีวีสุข”



นอกจากกิจกรรมไฮไลต์ เป็นต้นว่า ตรวจสุขภาพฟรีจากโรงพยาบาลรัฐและเอกชนชั้นนำ ร่วม 30 รายการ นิทรรศการให้ความรู้เรื่องสุขภาพ เสวนาสุขภาพกับคุณหมอและเหล่าคนดัง, เวิร์กชอปสุขภาพฟรี DIY (Do it yourself) 4 วัน, การจำหน่ายแพ็กเกจสุขภาพและความงามราคาพิเศษจากโรงพยาบาล-สถานเสริมความงาม ชั้นนำ, การจำหน่ายสินค้าคุณภาพเพื่อสุขภาพจากผู้ผลิต รวมทั้งสินค้าดีนาทีทองในราคา 1 บาท ในปีนี้ ยังมีกิจกรรมที่น่าสนใจเพิ่มเติม เช่น การเปิดห้องตรวจสุขภาพฟันฟรี จากหน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่ มหาวิทยาลัยมหิดล

นอกจากนี้ ยังมีเกมบริหารสมอง กิจกรรมของสภากาชาดไทย รวมทั้งยังเอาใจขาช็อป เมื่อซื้อสินค้าครบ 500 บาท มีสิทธิ์รับคูปองลุ้นสอยดาวฟรีอีกด้วย

อีกหนึ่งไฮไลต์ในปีนี้คงหนีไม่พ้น มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร โดยในปีนี้ จะเนรมิตสวนพฤกษศาสตร์กลางกรุงให้ยิ่งใหญ่กว่าเดิม ที่สำคัญเพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิด “สมองดี ชีวีสุข” ในปีนี้ สมุนไพรที่จะนำมาจัดแสดงจึงมีตัวชูโรงอย่าง “สมุนไพรบำรุงสมอง” ไม่ต่ำกว่า 30 ชนิด พร้อมกิจกรรมสาธิตการทำขนม ไดฟุกุ สุดยอดขนมสูตรดีท็อกซ์ บำรุงสมอง จากแป้งเท้ายายม่อม การทำวาตะบาล์ม บาล์มบำรุงสมอง การทำชาจากดอกบัวหลวง ที่หอมละมุนอย่าบอกใคร นอกจากนี้ ยังจะขนสินค้าคุณภาพจากสมุนไพรนานาชนิดมาจำหน่ายในราคาพิเศษอีกด้วย 

แต่สำหรับคนที่ชื่นชอบสมุนไพรบำรุงสมอง บำรุงร่างกาย ซึ่งแน่นอนว่า เราควรมีไว้คู่บ้าน ไม่ควรพลาดอย่างยิ่ง เพราะในปีนี้มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เขาจะนำมาแจกฟรี 4 วัน วันละ 1 ชนิด ได้แก่





พญาสามสิบสองเมีย (เฒ่าบ่เป็น) แค่ฟังชื่อก็คงสะดุ้งแล้วใช่ไหม พญาสามสิบสองเมีย ที่อภัยภูเบศรนำมาแจกในปีนี้ เห็นทีจะเอาใจผู้ชายที่อยากจะสู้กับสมุนไพรสำหรับสาวๆ ในปีที่แล้วอย่าง “สาวร้อยผัว” แน่ๆ พญาสามสิบสองเมียนั้นมีชื่ออื่นๆ ที่รู้จักก็คือ โม่ยตั๋น หมวยตั๋น หอมไก่ และกระดูกไก่

ลักษณะทั่วไป จะเป็นพุ่มไม้ขนาดเล็ก สูงประมาณ 3 เมตร ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด พืชชนิดนี้ ชอบขึ้นตามที่ชื้นๆ ใกล้ๆ น้ำตก สมุนไพรชนิดนี้เป็นยาร้อน เหมาะกับผู้หญิงที่ต้องเสียธาตุไฟจากการมีลูกและมีประจำเดือน จึงนิยมใช้กับผู้หญิงหลังคลอดเพื่อชดเชยกับธาตุไฟที่เพิ่งเสียไป แก้ปวดเมื่อยตัวบวม ระบมจากการคลอด นอกจากนี้ ยังเหมาะกับผู้ชายที่ต้องการบำรุงกำลังเป็นพิเศษ โดยใช้ทั้งต้นซอยตากแห้งดองเหล้าบำรุงกำลัง คนที่อายุน้อยจะกินไม่ได้เพราะจะทำให้ความดันสูง คนที่กินต้องมีอายุ 40 ปีขึ้นไป ยกเว้นคนอายุน้อยที่มีร่างกายอ่อนแอหรือหนาวง่ายเท่านั้นจึงสมควรใช้ยานี้

เท้ายายม่อม ชื่ออื่นๆ คือ ไม้เท้าฤาษี บุกรอ สิงโตดำ ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ล้มลุก มีหัวใต้ดินสะสมอาหาร มีดอกที่สวยงาม คนโบราณใช้หัวทำเป็นอาหารบำรุงร่างกายให้แข็งแรง โดยเฉพาะคนแก่ที่ฟื้นไข้ ควรกินแป้งเท้ายายม่อมร่วมกับน้ำอ้อยหรือน้ำตาลกรวด จะทำให้ร่างกายฟื้นฟูกลับมาแข็งแรงได้ดีขึ้น นอกจากนี้ ยังช่วยแก้อาการเบื่ออาหารหลังฟื้นไข้ได้ดีอีกด้วย สำหรับคนทั่วไปการกินแป้งเท้ายายม่อมจะช่วยให้หายอ่อนเพลีย จิตใจชุ่มชื่น แก้ร้อนใน เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่เบื่ออาหาร และบำรุงกำลังได้อย่างดี แม้แต่นักโภชนบำบัดสมัยใหม่ก็ยืนยันว่า แป้งเท้ายายม่อมมีคุณสมบัติเหมาะกับระบบทางเดินอาหารของมนุษย์เรามากที่สุด

เมื่อเปรียบเทียบกับแป้งชนิดอื่นๆ ทั้งยังเชื่อว่าการบริโภคแป้งเท้ายายม่อมจะทำให้อารมณ์และจิตใจมีความสมดุล ไม่วิตกกังวลหรือซึมเศร้าจนเกินไป เรียกว่าสามารถทำให้อารมณ์แจ่มใส สมองปลอดโปร่งได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้ เท้ายายม่อมยังมีสรรพคุณในการแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย พิษผึ้ง กะพรุนไฟ โดยใช้หัวหรือรากฝนกับน้ำมะนาวทา ใช้โรยปากแผลเพื่อห้ามเลือด โรยถุงเท้าเพื่อป้องกันเชื้อรา ถอนพิษ แก้ผดผื่นคัน ลดสิวฝ้าทำให้หน้าขาว

ส่วนแป้งเท้ายายม่อมในปัจจุบันเริ่มมีการผลิตน้อยลงเรื่อยๆ เพราะคนไม่นิยม แม้ว่าคุณค่าที่แฝงอยู่จะมีมากมายก็ตาม

สันพร้าหอม (เนียมคำพอง) สมุนไพรชนิดนี้บางคนเรียก พอกี่ ลักษณะทั่วไปของสันพร้าหอมเป็นพืชล้มลุก อายุหลายปี มีกลิ่นฉุน สูงได้ถึง 1 เมตร ลำต้นสีน้ำตาลอมแดงหรือสีออกแดง ผิวเกลี้ยง แตกกิ่งก้านสาขาเป็นกอ ปลายใบแหลมหรือมนเล็กน้อย สันพร้าหอมชาวปกากะญอที่อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก เชื่อว่าเป็นสื่อสารวิญญาณเทพจึงขาดไม่ได้เมื่อต้องทำพิธีกรรมในการอัญเชิญ เทวดา นอกจากนี้ ยังนิยมปลูกไว้บริเวณบ้านเพื่อความเป็นสิริมงคล

ในด้านสรรพคุณแล้ว สันพร้าหอมเป็นตำรับสมุนไพรของ “ยาเขียวหอม” ซึ่งเป็นยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ รวมทั้งยาหอมอีกหลายตำรับ หมอยาพื้นบ้านทุกภาคใช้สันพร้าหอมในตำรับยา แก้ไข้ แก้หวัด แก้ลม จุกเสียดแน่นท้อง บำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต บำรุงกำลัง แก้ประจำเดือนไม่ปกติ หมอยาไทยใหญ่ยังนิยมใช้สันพร้าหอมในการรักษาลมขึ้นเบื้องสูง ใช้ขยี้ดมแก้ลมชัก ลมงาน แก้ลมมะเฮ็งคุด (ปวดหัวไม่หาย) ใช้เคี้ยวกินเป็นยาระบายอ่อนๆ แก้ร้อนใน ต้มกินเพื่อบำรุงเลือด บำรุงกำลัง

สันพร้าหอม หรือที่คนเชียงใหม่เรียกในชื่อ “เกี๋ยงพาใย” นิยมนำมากินเป็นผักสดแกล้มลาบ นอกจากจะอุดมด้วยวิตามินซีแล้ว ยังเชื่อว่าเป็นยาปรับธาตุ เป็นทั้งยาช่วยระบายหรือแก้อาการท้องร่วงในเวลาเดียวกัน

หูเสือ เป็นผักกลิ่นหอมฉุน รสเผ็ดร้อน มีรสเปรี้ยวแทรกอยู่เล็กน้อย หูเสือไม่ใช่ผักหรือสมุนไพรที่โดดเด่นแต่ก็แปลกที่แทบทุกบ้านจะปลูกหูเสือ เป็นไม้คู่บ้าน คนจีนปลูกไว้เป็นยาแก้ไอ แถบอีสานและเหนือจะปลูกไว้เป็นยาสามัญประจำบ้าน คือเป็นทั้งยาบำรุงเลือดลม บำรุงร่างกาย สมอง ขับน้ำนมหลังคลอดและยังนิยมกินเป็นกับแกล้มอีกด้วย

นอกจากนี้ ในกลิ่นของใบหูเสือยังคล้ายกับเครื่องเทศ “ออริกาโน” ที่ใช้โรยหน้าพิซซ่าอีกด้วย สามารถใช้ใบหูเสือตากในที่ร่มให้แห้งสนิท นำไปบดให้ละเอียดใช้แทนออริกาโนได้เหมือนพี่น้องฝาแฝดเลยทีเดียว

ในปัจจุบันมีการศึกษาทางเภสัชวิทยาพบว่า หูเสือมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย ยีสต์ และราอีกด้วย แน่นอนว่า ยาสามัญประจำบ้านอย่าง หูเสือ ย่อมดีต่อสุขภาพ ช่วยบำรุงร่างกาย ซึ่งส่งผลดีต่อเลือดลมและสมอง

เป็นสมุนไพรเด่นประจำปีที่มีดีกรีบำรุงสุขภาพ เลือดลม และสมอง ที่ควรมีไว้คู่บ้าน ซึ่งหากใครสนใจมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรจะนำมาแจกฟรีในงาน มติชน เฮลท์แคร์ 2012 ที่กำลังจะมีขึ้นในอีกไม่กี่วันนี้

วันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เทคนิคการขยายพันธุ์ไผ่กิมซุ่ง
             

      ชื่อ    เทคนิคการขยายพันธุ์ไผ่กิมซุ่ง  

เจ้าของผลงาน   นายสุภาพ  ปรางจโรจน์  
116/2  หมู่ 8  ตำบลหนองหญ้า  อำเภอเมือง  จังหวัดกาญจนบุรี  โทร  083 – 3095816

ความเป็นมาของนวัตกรรม 
                 ไผ่กิมซุ่ง เป็นไผ่ที่นำเข้ามาจากประเทศจีน  มีข้อดีหลายประการ  เหมาะสำหรับ
ปลูกเพื่อเป็นอาชีพ  และเสริมรายได้  ปัจจุบัน เกษตรกรมีความต้องการพันธุ์ไผ่กิมซุ่งเป็นจำนวน
มาก  ทำให้อาชีพการขยายพันธุ์ไผ่กิมซุ่งเป็นอาชีพที่น่าสนใจ 
             การขยายพันธุ์ไผ่กิมซุ่งที่นิยม มี  2  วิธี  คือ  การตอนกิ่ง  และการปักชำกิ่ง
(กิ่งไม่มีแขนง)  แต่การตอนกิ่งมีขั้นตอนยุ่งยากและมีค่าใช้จ่ายมาก  ส่วนวิธีการปักชำกิ่ง
(กิ่งไม่มีแขนง)  มีเปอร์เซ็นต์การตายของกิ่งพันธุ์สูง ทำให้ต้องคิดค้นวิธีการขยายพันธุ์
ไผ่กิมซุ่งแบบใหม่  คือ  การปักชำกิ่งรูปตัววาย (y) เพื่อลดต้นทุนการผลิตและประหยัดเวลา

การออกแบบนวัตกรรม
                การปักชำกิ่งเป็นรูปตัววาย  (y)  มีกิ่งแขนงเป็นกิ่งพี่เลี้ยง  ทำให้กิ่งพันธุ์มีการแตก
รากดี  แตกหน่อเร็ว  เปอร์เซ็นต์การตายน้อย  ขณะเดียวกันเลือกใช้ขี้เถ้าเป็นวัสดุปลูก ช่วยให้การระบายน้ำดี  ไม่ทำให้กิ่งพันธุ์เน่าเสียหาย  แม้ว่าจะให้น้ำตลอด  12  ชั่วโมงต่อวัน   

วัสดุ อุปกรณ์
                1)  มีด
                2)  ถุงดำ  ขนาด  4.5 X 11 นิ้ว ขึ้นไป
                3)  ขี้เถ้า

วิธีการ
                1)  เลือกต้นไผ่ที่มีสีเขียวเข้ม  อายุตั้งแต่  1  ปีขึ้นไป
                2)  ตันทอนลำให้เป็นท่อน  โดยตัดกิ่งไผ่บริเวณข้อ  ให้มีกิ่งแขนงติดอยู่
(มีตาติดอยู่  2  ตา)
                3)  ตัดให้เป็นรูปตัววาย (y)  แล้วแช่น้ำยาเร่งราก  1  คืน
                4)  นำมาชำในถุงดำบรรจุขี้เถ้า  ตั้งเรียงไว้กลางแจ้ง
                5)  ให้น้ำด้วยระบบสปริงเกลอร์  วันละ  12  ชั่วโมง (ตั้งแต่  6  โมงเช้า ถึง 
6  โมงเย็น)    
                6)  ประมาณ  20  วัน  นำกิ่งพันธุ์มาไว้ด้านนอก  รดน้ำเช้าเย็น  และให้ปุ๋ยสูตร 46–0–0
เดือนละ  2  ครั้ง
                7)  ประมาณ  1  เดือน  ลงปลูกในแปลง /  จำหน่ายกิ่งพันธุ์ได้   หากทิ้งไว้นานกว่า
1 เดือน ไผ่จะเริ่มแทงหน่อในถุงเพาะชำ

ประโยชน์ที่ได้รับ

                1) มีขั้นตอนการปฏิบัติงานน้อยกว่าการตอนกิ่ง  และประหยัดค่าใช้จ่าย ค่าแรงงานในการตอน
                2) การเจริญเติบโตของกิ่งพันธุ์มีการตั้งตัวได้เร็ว  และมีรากเยอะ  แตกหน่อเร็ว
                3) กิ่งที่ปักชำสามารถให้หน่อได้เร็ว  ใช้เวลาน้อยกว่าการขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่ง

เงื่อนไขหรือข้อจำกัดในการนำนวัตกรรมไปปรับใช้ประโยชน์

                การปักชำพันธุ์ไผ่กิมซุ่งแบบใหม่  มีข้อจำกัดในเรื่องการขนส่งกิ่งพันธุ์  เนื่องจาก
กิ่งพันธุ์เป็นรูปตัววาย (y)  มีกิ่งแขนง ทำให้การขนส่งได้จำนวนน้อย







วันพุธที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ไผ่ ไผ่
จากประสบการณ์ที่คลุกคลีอยู่กับวิชาชีพสื่อมวลชนมายาวนาน ทำให้หนุ่มใหญ่วัย 43 ปี ผู้อำนวยการสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดตรัง “ธีรพงศ์ เพชรรัตน์” ได้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับพืชเศรษฐกิจที่จะนำไปประกอบอาชีพด้านการเกษตร เพราะเห็นว่ามีที่มรดกที่บ้านเกิดหมู่ 3 ต.บางเขียด อ.สิงหนคร จ.สงขลา ซึ่งเป็นที่นาเก่า 8 ไร่ ควรที่จะใช้ให้เกิดประโยชน์และก่อให้รายได้เสริม แต่เนื่องจากยังมีอายุราชการเกือบ 20 ปี เขาจึงตัดสินใจปลูกไม้ยืนต้น 4 ไร่ แซมด้วยไผ่ตงลืมแล้ง ปรากฏว่าเพียง 8 เดือน ไผ่ตงลืมแล้งออกหน่อเก็บขายได้ถึงวันละ 100 หน่อ มีรายได้วันละ 5,000 บาท ขณะที่กิ่งพันธุ์ขายได้เดือนละกว่า 200 กิ่ง ราคากิ่งละ 200 บาท
ธีรพงศ์บอกว่า คนที่มีอาชีพกินเงินเดือนโดยเฉพาะข้าราชการทุกคน พอมีอายุ 40 ปีขึ้นไป นึกถึงความมั่นคงในอาชีพหลังเกษียณ บางคนจึงหาซื้อที่เพื่อทำการเกษตรในบั่นปลาย แต่เขาเองมีที่ซึ่งเป็นส่วนแบ่งจากมรดกของครอบครัว 8 ไร่ จึงเลือกปลูกไม้ยืนต้นโตเร็ว ส่วนหนึ่งคิดว่ายังเหลืออายุราชการอีกเกือบ 20 ปี ช่วงเกษียณอายุสามารถตัดขายทำเป็นทุนได้ อีกส่วนหนึ่งเห็นว่าป่าไม้ลดปริมาณลงอย่างรวดเร็ว จึงปลูกต้นมะฮอกกานีราว 1,000 ต้น พอต้นมะฮอกกานีเริ่มโตก็ยังเห็นว่า ช่วงระหว่างต้นไม้ ยังมีพื้นที่เหลือว่างเปล่า น่าจะทำประโยชน์ได้ จึงศึกษาข้อมูลพืชเศรษฐกิจจากแหล่งต่างๆ พบว่าในพื้นที่ภาคใต้มีการบริโภคหน่อไม้ไม่แตกต่างไปจากภาคอื่น แต่ไม่มีพื้นที่ปลูกเลย หรืออาจมีบ้าง ประปรายรายเล็กปลูกตามหลังบ้านปลายสวน จึงไม่มีการบันทึกข้อมูลว่ามีพื้นที่ปลูกไผ่เป็นอาชีพ
“ผมตัดสินใจจะปลูกไผ่ เลยศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับไผ่ทุกชนิด พบว่าไผ่ตงที่เหมาะที่สุด มีหลายสายพันธุ์ แต่มีสายพันธุ์ที่น่าสนใจคือชาวบ้านเรียกว่าไผ่ตงลืมแล้ง คือจะออกหน่อทั้งปี แม้ฤดูแล้ง ซึ่งไผ่ชนิดอื่นไม่ค่อยออกหน่อในช่วงหน้าแล้ง ผมจึงไปหาซื้อกิ่งพันธุ์มาจาก จ.พัทลุง ปลูกทั้งหมดในพื้นที่ 4 ไร่ จำนวน 400 กอในปี 2551 ไผ่ชนิดนี้คุณสมบัติคือโตเร็ว ได้ผลเร็ว และไม่ต้องดูแลรักษามาก เหมะกับผมที่มีอาชีพรับราชการ ที่สำคัญหน่อมีรสชาติดี หวานกรอบอร่อย เปลือกบาง ไม่มีเสี้ยน ไม่มีขนปกคลุม เวลาแกะเอาเนื้อในสะดวก ขนาดหน่อโตเต็มที่น้ำหนักประมาณ 1-3 กก.ตอนนี้ผมกลายเป็นผู้บุกเบิกในการปลูกไผ่ตงพันธุ์ลืมแล้ง ที่ทำเป็นกิจลักษณะและเป็นผู้ปลูกรายใหญ่ที่สุดใน จ.สงขลา” ธีรพงศ์ กล่าว
ผู้อำนวยการสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดตรัง บอกอีกว่า หลังจากที่ลงไผ่ตงทนแล้งได้ 8 เดือน ต้นไผ่แตกหน่อเป็นต้นไผ่กอละ 5-6 ต้น ก็สามารถเก็บหน่อไผ่หรือหน่อไม้บริโภคได้ หรือเก็บขายได้ ปัจจุบันไผ่ตงลืมแล้ง 400 ก่อ สามารถเก็บขายได้วันละไม่น้อยกว่า 100 หน่อ หนัก 100 กก.จะมีพ่อค้ามาซื้อถึงที่ อย่างหน้าแล้งราคา กก.ละ 35-45 บาท ขายปลีก กก.ละ 40-50 บาท อย่างทั่วไปขายส่งที่สวน กก.ละ 25-30 บาท ขายปลีกราว กก.ละ 35 บาท แต่หน้าฝนมีหน่อไม้จากไผ่ป่า และที่อื่นออกหน่อเยอะราคาตกอยู่ที่ กก.ละ 15-20 บาท เฉลี่ยตลอดปีอยู่ที่ กก.ละ 25 บาท นอกจากมีรายได้จากการตอนกิ่งพันธุ์ขายด้วยเดือนละ 200-300 กิ่ง ขายในราคากิ่งละ 200 บาท แต่ผู้ซื้อต้องจองล่วงหน้า เพราะผลิตไม่ทันนั่นเอง
“หน่อไม้ที่ขายในตลาดภาคใต้ ถูกส่งมาจากพื้นที่อื่น เช่น สุพรรณบุรี ปราจีนบุรี และจังหวัดอื่นๆ ในภาคกลาง ทำให้ตอนนี้หน่อจากสวนผมเป็นที่ต้องการของตลาด มีเท่าไรขายหมด ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ผมจึงแนะนำว่าหากใครมีที่ควรปลูกไว้อย่างหลังบ้าน หรือรอบสวนยางพาราก็ได้ เป็นอาชีพเสริมเพราะรายได้มีตลาดแน่นอน” เขา ยืนยัน
ก็นับเป็นพืชที่น่าสนใจอีกชนิดหนึ่งสำหรับในพื้นที่ภาคใต้ เพราะดูเลขของรายได้ดี สนใจอยากปลูกปรึกษาธีรพงศ์ เพชรรัตน์ ได้ที่ โทร.08-3195-0811, 08-1606-4513? “สมชาย สามารถ “
1x1.trans ปลูก “ไผ่ตงลืมแล้ง” อาชีพเสริมรายได้หลักวันละ 5พันบาท

วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

พันธุ์ทุเรียน

 
พันธุ์ทุเรียน

พันธุ์ ข้อดี ข้อเสีย
ชะนี - ทนทานต่อโรครากเน่า
  โคนเน่าพอสมควร
- ออกดอกดก แต่ติดผลยาก

- ออกดอกง่าย - เป็นไส้ซึมง่าย

- เนื้อแห้ง รสดี สีสวย - อ่อนแอต่อ โรคใบติด
หมองทอง - ราคาสูงกว่าพันธุ์อื่น - อ่อนแอต่อโรครากเน่า โคนเน่า

- ติดผลดีมาก น้ำหนักผลดี

- เนื้อมากเมล็ดลีบ มีกลิ่นน้อย
  เนื้อละเอียดแห้ง ไม่เละ
  ผลสุกแล้วเก็บไว้ได้นาน


- ไม่ค่อยเป็นไส้ซึม
ก้านยาว - ติดผลดี - ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรครากเน่า
  โคนเน่า
  - ราคาค่อนข้าง - เปลือกหนา
  - น้ำหนักผลดี - เนื้อน้อย
    - เป็นไส้ซึมค่อนข้างง่าย
    - ผลสุกเก็บไว้ได้ไม่นาน
  ก้นผลแตกง่าย
    - อายุการให้ผลช้า
กระดุม - ไม่มีปัญหาไส้ซึม เพราะเป็น
  พันธุ์เบาเก็บเกี่ยวก่อนฝนตกชุก
- อ่อนแอต่อโรครากเน่า โคนเน่า
  - ออกดอกเร็วผลแก่เร็วจึงขายได้
  ราคาดีในช่วงต้นฤดู
 
  - ผลดก ติดผลง่าย  
  - อายุการให้ผลเร็ว  

การปลูกทุเรียน


การเลือกพื้นที่ปลูกทุเรียน

การคำนึงถึง
แหล่งน้ำ
ต้องมีแหล่งน้ำจืดให้ต้นทุเรียนได้เพียงพอตลอดปี
อุณหภูมิและความชื้น
ทุเรียนชอบอากาศร้อนชื้นอุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ในช่วงประมาณ
25-30 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศประมาณ 75-85%
ถ้าปลุกในพื้นที่ที่มีอากาศแห้งแล้งมีอากาศร้อนจัดเย็นจัด และมีลมแรง
จะพบปัญหาใบไหม้หรือใบร่วงต้นทุเรียนไม่เจริญเติบโตหรือเติบโตช้า
ให้ผลผลิตช้าและน้อยไม่คุ้มต่อการลงทุน
สภาพดิน
ควรเป็นดินร่วน ดินร่วนปนทราย ดินเหนียวปนทรายที่มีการระบายน้ำดี
และมีหน้าดินลึก เพราะทุเรียนเป็นพืชที่อ่อนแอต่อสภาพน้ำขัง
ความเป็นกรดด่างของดินอยู่ระหว่าง 5.5-6.5 ถ้าจำเป็นต้องปลูก
ทุเรียนในสภาพดินทราย จำเป็นต้องนำหน้าดินจากแหล่งอื่นมาเสริม
ต้องใส่ปุ๋ยคอกและต้องดูแลเรื่องการให้น้ำมากเป็นพิเศษแหล่งน้ำต้องเพียงพอ